• ขันติธรรม
ในสงครามคราวหนึ่งฝ่ายเทวดาชนะอสูร
ท้าวเวปจิตติอสุรินทร์ ถูกจับได้
และถูกพันธนาการมายังสุธัมมสภา ขณะที่เข้าและออกจากสภา
ก็ได้บริภาษด่าพระอินทร์ด้วยถ้อยคำหยาบช้าต่างๆ
แต่พระอินทร์ก็ไม่ได้โกรธแม้แต่น้อย
พระมาตลีเทพสารถีจึงทูลถามพระอินทร์ว่า
“ทรงอดกลั้นได้เพราะกลัว หรือว่าเพราะอ่อนแอ”
พระอินทร์ตรัสว่า
“เราทนได้ไม่ใช่เพราะกลัว ไม่ใช่เพราะอ่อนแอ
แต่วิญญูชนเช่นเราจะตอบโต้กับพาลได้อย่างไร”
แต่วิญญูชนเช่นเราจะตอบโต้กับพาลได้อย่างไร”
พระมาตลีแย้งว่า
“พาลจะกำเริบถ้าไม่กำหราบเสีย
เพราะฉะนั้นผู้มีปัญญาพึงกำหราบเสียด้วยอาชญาอย่างแรง”
พระอินทร์
“เมื่อรู้ว่าเขาโกรธแล้วมีสติสงบลงได้ นี่แหละเป็นวิธีกำหราบพาล”
พระมาตลีก็ยังแย้งว่า
“ความอดกลั้นดังนั้นมีโทษ พาลจะเข้าใจว่าผู้นี้อดกลั้นเพราะกลัว
ก็จะยิ่งข่ม เหมือนโคยิ่งหนีก็ยิ่งไล่”
พระอินทร์
“พาลจะคิดอย่างไรก็ตาม ประโยชน์ของตนสำคัญยิ่ง
และไม่มีอะไรจะยิ่งไปกว่าขันติ ผู้ที่มีกำลังอดกลั้นต่อผู้ที่อ่อนแอ
เรียกว่าขันติอย่างยิ่ง เพราะผู้ที่อ่อนแอต้องอดทนอยู่เองเสมอไป
ผู้ที่มีกำลังและใช้กำลังอย่างพาล ไม่เรียกว่า มีกำลัง
ส่วนผู้ที่มีกำลังและมีธรรมะคุ้มครองย่อมไม่โกรธตอบ
ผู้โกรธตอบผู้โกรธ หยาบมากกว่าผู้โกรธทีแรก
ส่วนผู้ที่ไม่โกรธตอบผู้โกรธ ชื่อว่าชนะสงครามที่ชนะได้ยาก
ผู้ที่รู้ว่าเขาโกรธ แต่มีสติสงบได้
ชื่อว่าประพฤติประโยชน์ทั้งแก่ตนและผู้อื่น
แต่ผู้ที่ไม่ฉลาดไม่รู้ธรรมก็ย่อมจะเห็นผู้ที่รักษาประโยชน์ตน
และผู้อื่นทั้งสองฝ่ายดังกล่าว ว่าเป็นคนโง่เสีย”
และไม่มีอะไรจะยิ่งไปกว่าขันติ ผู้ที่มีกำลังอดกลั้นต่อผู้ที่อ่อนแอ
เรียกว่าขันติอย่างยิ่ง เพราะผู้ที่อ่อนแอต้องอดทนอยู่เองเสมอไป
ผู้ที่มีกำลังและใช้กำลังอย่างพาล ไม่เรียกว่า มีกำลัง
ส่วนผู้ที่มีกำลังและมีธรรมะคุ้มครองย่อมไม่โกรธตอบ
ผู้โกรธตอบผู้โกรธ หยาบมากกว่าผู้โกรธทีแรก
ส่วนผู้ที่ไม่โกรธตอบผู้โกรธ ชื่อว่าชนะสงครามที่ชนะได้ยาก
ผู้ที่รู้ว่าเขาโกรธ แต่มีสติสงบได้
ชื่อว่าประพฤติประโยชน์ทั้งแก่ตนและผู้อื่น
แต่ผู้ที่ไม่ฉลาดไม่รู้ธรรมก็ย่อมจะเห็นผู้ที่รักษาประโยชน์ตน
และผู้อื่นทั้งสองฝ่ายดังกล่าว ว่าเป็นคนโง่เสีย”